สถานที่ : อาคารศรีสุระ ห้องสมุด  ชั้น 2 

วิทยากรแกนนำ
    1. นางสุภาวดี  ขันคำ      
    2. นางสาวบุษบา  ชื่นงาม               
    3. นางรุ้งดาว  กลิ่นหอม                  
    
1. วัตถุประสงค์ของแหล่ง / ฐานเรียนรู้

    เพื่อนำไปใช้ในการสร้างและเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้ท้องถิ่นมีคุณภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบยั่งยืน


2. ข้อมูลความรู้ 
    ภูมิปัญญาท้องถิ่น  หมายถึง  ความรู้ประสบการณ์ทั้งหลายของชาวบ้านในท้องถิ่น  ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือการดำเนินชีวิต  โดยได้รับการถ่ายทอดและกลั่นกรองเป็นระยะเวลานาน

    1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับคติ ความคิด ความเชื่อ และหลักการ ที่เป็นพื้นฐานของความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมถ่ายทอดกันมา     2. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวศิลปะ วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี

    3. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวการประกอบอาชีพในแต่ละท้องถิ่นที่ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมกับกาล    4. ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีแนวคิด หลักปฏิบัติ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ ชาวบ้านนำมาใช้ในชุมชน ซึ่งเป็นอิทธิพลของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


3. วิธีการใช้ฐาน
    1.ให้นักเรียนศึกษาเป็นรายบุคคล   เป็นรายกลุ่ม

   2.ศึกษาทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ

   3. ศึกษาทั้งชั่วโมงเรียนและนอกเวลาเรียน


4. ตารางการปฏิบัติและเวลาที่ใช้

ลำดับ

การปฏิบัติ

เวลาที่ใช้

1

ชี้แจงวัตถุประสงค์และวิธีการใช้ฐานการเรียนรู้

5 นาที

2

เรียนรู้ทฤษฏี

20 นาที

3

เรียนรู้ปฏิบัติ

20 นาที

4

นำเสนอผลการเรียนรู้และสรุปผลการเรียนรู้

5 นาที