สถานที่ : อาคารเอรวัณ (อาคาร 4)  ชั้น 1 ห้อง 412

วิทยากรแกนนำ
    1. นางอรอุมา  สำรวมจิตร      
    2. นางสาวนภาพร  พิศวง
    3. นางสาวเกษดาพร  จันทร์แสน
    4. นายธิติ  ไชยวัฒน์
            
 1. วัตถุประสงค์ของแหล่ง / ฐานเรียนรู้

         1. มีความรู้เรื่องในเรื่องการทำโครงงาน
     2. อธิบายหลักการและขั้นตอนในการทำโครงงาน
     3.  สามารถเลือกหัวข้อในการทำโครงง่านได้


2. ข้อมูลความรู้ 

ความหมายของโครงงาน
                โครงงาน (Project Approach) คือ กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าและฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นๆ ไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้นแนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินงานตามแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการนำเสนอผลงาน ซึ่งอาจทำเป็นบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
                    โครงงาน คือ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายๆสิ่งที่อยากรู้คำตอบให้ลึกซึ้งหรือเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆให้มากขึ้น โดยใช้กระบวนการ วิธีการที่ศึกษาอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอนมีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลสรุปที่เป็นคำตอบในเรื่องนั้นๆ

หลักการทำโครงงาน

* เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
* ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้าเอง
* ลงมือปฏิบัติเอง
* นำเสนอโครงงานเอง
* ร่วมกำหนดแนวทางวัดผลและประเมินผล

จุดมุ่งหมายในการทำโครงงาน

* เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง
* เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
* เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น รู้จักทำงานร่วมกับบุคคลอื่น
    มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความรับผิดชอบฯ
* เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้และประสบการณ์เลือกทำโครงงานตามความสนใจ
 

ประเภทของโครงงาน
                    ประเภทโครงงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

          1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นการใช้บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้ ทักษะและเป็นพื้นฐานในการกำหนดโครงงานและปฏิบัติ
                        2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยใช้ทักษะความรู้ จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆมาบูรณาการเป็นโครงงานและปฏิบัติ
สามารถแบ่งได้ 4 รูปแบบ ตามวัตถุประสงค์
                   1. โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
                   2. โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้า ทดลอง
                   3. โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนาผลงาน
                   4. โครงงานที่เป็นการสร้างประดิษฐ์ คิดค้น

2.1. โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล
          เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข้อมูล เรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วนำข้อมูลนั้นมาจำแนก

เป็นหมวดหมู่ ในรูปแบบที่เหมาะสม ข้อมูลที่ได้จะนำไปปรับปรุงพัฒนาผลงาน ส่งเสริมผลผลิตให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ข้อมูลดังกล่าว อาจมีผู้จัดทำขึ้นแล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการจัดทำใหม่เพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ศึกษาโครงงาน โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก เช่น
         * การสำรวจแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
         * การสำรวจงานบริการและสถานประกอบการในท้องถิ่น
               2.2 โครงงานที่เป็นการศึกษาค้นคว้า ทดลอง

                   เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ โดยศึกษาหลักการและออกแบบการค้นคว้า ในรูปแบบการทดลองเพื่อยืนยันหลักการ ทฤษฎี เพื่อศึกษาหาแนวทางในการเพิ่มคุณค่า และการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น
         * การปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมี
         * การทำขนมอบชนิดต่าง ๆ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น
         * การควบคุมการเจริญเติบโตของต้นไม้ประเภทเถา
         * การศึกษาสูตรเครื่องดื่มที่ผลิตจากธัญพืช
               2.3โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ๆ
                   เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอความรู้ หรือหลักการใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ยังไม่มีใครเคยคิด หรือคิดขัดแย้ง หรือขยายจากของเดิมที่มีอยู่ จากเนื้อหาวิชาการ หลักการ ทฤษฎีต่าง ๆ นำมาปรับปรุง พัฒนา ให้สอดคล้องมีความชัดเจน มีผลงานที่เป็นรูปธรรม ซึ่งต้องผ่านการพิสูจน์อย่างมีหลักการและเชื่อถือได้ เช่น
         * การใช้สมุนไพรในการปราบศัตรูพืช
         * การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการถนอมอาหาร และปรุงอาหาร
         * เกษตรแบบผสมผสาน
         * เทคนิคการแก้โจทย์ปัญหา
               2.4โครงงานที่เป็นการสร้างประดิษฐ์ คิดค้น
                   เป็นโครงงานที่มีวัตถุประสงค์ คือ การนำความรู้ทฤษฎี หลักการ มาประยุกต์ใช้ โดยประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่างๆ หรืออาจเป็นการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงของเดิมให้ดีขึ้นใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น เช่น
         * การประดิษฐ์เครื่องควบคุมการรดน้ำ
         * การประดิษฐ์เครื่องรับวิทยุ
         * การประดิษฐ์ของชำร่วย
         * การออกแบบเสื้อผ้า

ส่วนประกอบของการเขียนรายงาน

         1. ชื่อโครงงาน
         2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน/โรงเรียน/วันเดือนปีที่จัดทำ
         3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา
         4. บทคัดย่อ บอกเค้าโครงย่อยๆประกอบด้วย เรื่อง....วัตถุประสงค์......วิธีการศึกษาและสรุปผล
         5. กิตติกรรมประกาศ (แสดงความขอบคุณ บุคคล หรือหน่วยงาน ที่มีส่วนในการให้ความช่วยเหลือ ในดำเนินโครงงาน)
         6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
         7. วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
         8. สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)
         9. วิธีดำเนินการ
         10. สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
         11. อภิปรายผล / ประโยชน์ / ข้อเสนอแนะ
         12. เอกสารอ้างอิง


3. วิธีการใช้ฐาน

              1. ศึกษาหลักการของโครงงาน
        2. เลือกหัวข้อในการทำโครงงาน


4. ตารางการปฏิบัติและเวลาที่ใช้ (50 นาที)

ลำดับที่

การปฏิบัติ

เวลาที่ใช้

1

ชี้แจงวัตถุประสงค์และวิธีการใช้ฐานการเรียนรู้

5   นาที

2

เรียนรู้หลักการของโครงงาน ประเภทโครงงาน

30  นาที

3

เลือกหัวข้อในการทำโครงงาน

10  นาที

4

นำเสนอผลงานและสรุปผลการเรียนรู้

5  นาที